วันที่ ๒๔ มิ.ย. ๒๕๕๓ : คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ร่วมงานเสวนา “พรมแดนการเมือง พรมแดนความรู้ของการปฏิวัติสยาม พ.ศ.๒๔๗๕”
สาระสำคัญ คิอ ปัญหาในการเคลื่อนตัวไปสู่ความเป็นการเมืองมวลชน ชองการปฏิวัติ ๒๔๗๕ ไม่ได้เกิดขึ้นจากความขัดแย้งภายในคณะราษฎร หรือความไม่พร้อมของประชาชนแต่เพียงอย่างเดียว แต่เกิดขึ้นจากการต่อต้านของกลุ่มชนชั้นสูงอีกด้วย ดังนั้นการศึกษาด้านการต่อต้านการปฏิวัติควบคู่ไปกับการปฏิวัติเพื่อที่จะทำให้การปฏิวัติในปี ๒๔๗๕ มีความหมายและมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้การศึกษากำเนิดแนวคิด หรือกระบวนการและผลกระทบของการต่อต้านการปฏิวัติในมิติต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจที่แท้จริงว่าอะไรคือความหมายอันแท้จริงของ "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข" หรือที่จริงแล้ว ประชาชนไม่พร้อมหรือชนชั้นสูงไม่พร้อม ในการเปลี่ยนแปลง
ตัวแทนสภานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตยที่เข้าร่วมงาน
๑.นายพรเทพ ทองหล่อ
๒.นายปณัท นิตย์แสวง
๓.นางจิรภา หุ่นสุววรณ์
๔.นางปรัศนี พุทธิสนธิ์
๕.นางมณีนวล ตรีศักดิ์ศรี
No comments:
Post a Comment