Monday, November 1, 2010

สภาพัฒนาการเมือง

วันพฤหัสบดีที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๓
สถานที่...

"การประชุมเพื่อชี้แจงเรื่องตัวชี้วัด...

ตัวแทนสภานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตยที่เข้าร่วมประชุม
๑.นายโอภาส  ภาสบุตร เลขาธิการ

พรรคเพื่อไทย

๒๗ กันยายน ๒๕๕๓
ยื่นหนังสือชี้แจงข้อสงสัยของคุณนิรมิตร สุจารี สส.จังหวัดร้อยเอ็ด พรรคเพื่อไทย

กรณี ประชาชนในเขตรับผิดชอบสับสน เกรงว่าผู้ดำเนินการของสภาฯ ได้ไปกระทำการทางการเมืองเพื่อพรรคภูมิใจไทย แล้วก่อให้เกิดการหลงผิดของมวลสมาชิกพรรคเพื่อไทย หรืออื่นใด

ผู้รับหนังสือ
นายประคัลภ์ ฤทธิ์ลอย : ฝ่ายกฏหมาย พรรคเพื่อไทย

ตัวแทนสภานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตยที่เข้ายื่นหนังสือและชี้แจงเพิ่มเติม
๑.นายพรเทพ ทองหล่อ
๒.นายปณัท นิตย์แสวง


สำเนาหนังสือชี้แจง


สภานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย
๔๔๔/๑ อาคารมูลนิธิ ๑๑๑ ไทยรักไทย ถนนนครสวรรค์
แขวงสี่แยกมหานาค เขตป้อมปราบ กทม. ๑๐๓๐๐


๒๗ กันยายน ๒๕๕๓


เรื่อง ขอชี้แจงข้อสงสัยของคุณนิรมิตร สุจารี สส.จังหวัดร้อยเอ็ด พรรคเพื่อไทย

เรียน หัวหน้าพรรคเพื่อไทย

สิ่งที่ส่งมาด้วย  ๑.เอกสารความเป็นมาและอุดมการณ์ ของสภานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย
                      ๒.โครงสร้าง “เครือข่ายพลเมืองประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย” (คปท.)
                      ๓.แฟ้มภาพการจัดสัมมนาในจังหวัดต่างๆที่ผ่านมา

     ด้วยสภานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย คือคณะบุคคลและผู้ผ่านการอบรมผู้นำการพัฒนาเพื่อประชาธิปไตยของมูลนิธิ ๑๑๑ ไทยรักไทย ส่วนหนึ่ง ได้รวมตัวกันดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการสร้างประชาธิปไตย ด้วยการทำการเมืองภาคพลเมือง จัดให้มีการให้ความรู้เกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตย โดยประชาชนมีส่วนร่วม ไปยังจังหวัดต่างๆ ดังเอกสารสิ่งที่ส่งมาด้วยแล้วนั้น

     ต่อมาปรากฏว่า สส.นิรมิต สุจารี มีความสงสัยขัดข้อง แจ้งว่าประชาชนในเขตรับผิดชอบสับสน เกรงว่าผู้ดำเนินการของสภาฯ ได้ไปกระทำการทางการเมืองเพื่อพรรคภูมิใจไทย แล้วก่อให้เกิดการหลงผิดของมวลสมาชิกพรรคเพื่อไทย หรืออื่นใด

     สภาฯ ขอชี้แจงว่า แนวทางหลักในการดำเนินกิจกรรมของสภาฯ จะไม่อ้างสถาบันพรรคการเมือง หรือกระทำการเพื่อพรรคการเมืองอื่นใด อันอาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อกระบวนการคิดด้วยตนเองของประชาชน แต่จะดำเนินการเพื่อให้เกิดการรวมตัวเพื่อพัฒนาสังคมท้องถิ่นของตนเองตามระบอบประชาธิปไตย ที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการเสนอแนะ ตรวจสอบการบริหารจัดการการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ การตัดสินใจในการพิจารณาเลือกคนหรือพรรคการเมืองใด เป็นอิสระของบุคคล สภาฯ ไม่อาจเกี่ยวข้องได้
สภาฯ ยินดีที่จะเผยแพร่แนวทางการดำเนินงานต่อบุคคล สถาบัน หรือพรรคการเมืองทั่วไป หากมีความเชื่อในอุดมการณ์ที่เป็นประชาธิปไตย ซึ่งนอกจากจะเข้าไปศึกษาในเว็บไซต์ http://www.spadmc.org/ ของสภาฯ แล้วจะให้ไปอธิบายทำความเข้าใจ ได้ทุกที่ ทุกกลุ่มชน

      จึงเรียนชี้แจงมาเพื่อทราบ


ขอแสดงความนับถือ

( นายโอภาส ภาสบุตร )
ประธานคณะทำงาน โทร. ๐๘๑-๙๒๗-๓๒๗๙

ศูนย์ราชการ จังหวัดระยอง

วันอังคาร ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓ : ศูนย์ราชการ ศาลากลางจังหวัดระยอง

สำรวจข้อมูลองค์กรเครือข่ายที่บูรณาการการทำงานกับงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และงานพัฒนาชุมชน ภายในจังหวัดระยอง
สาระสำคัญ คือ ต้องการทราบข้อมูลเพื่อเตรียมการจัดตั้ง "เครือข่ายพลเมืองประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย" สาขา ในจังหวัดระยอง

คณะทำงาน สภานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย
๑.คุณโอภาส ภาสบุตร : เลขาธิการ
๒.คุณกรรณิการ์ หนุนภักดี : รองเลขาธิการ
๓.คุณวิโรจน์ วีระไทย
๔.คุณมานะ ศรีวะรมย์
๕.คุณพรเทพ ทองหล่อ
๖.คุณปณัท นิตย์แสวง

สนง.คกก.ข้อมูลข่าวสารของราชการ

วันอังคาร ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๓ : สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ

สัมมนาระดมความคิดเห็นเครือข่ายภาคประชาชนเพื่อตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐโดยใช้กฏหมายข้อมูลข่าวสารของราชการ
สาระสำคัญ คือ "สิทธิรับรู้และการใช้สิทธิของประชาชน ตาม พรบ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.๒๕๔๐" และการอภิปรายกลุ่มย่อยเรื่อง "แนวทางการเผยแพร่ความรู้ในการใช้สิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสารเพื่อให้ประชาชนตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐโดยใช้กฏหมายข้อมูลข่าวสารของราชการ

ตัวแทนสภานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตยที่เข้าร่วมสัมมนา
๑.คุณโอภาส ภาสบุตร
๒.คุณมานะ ศรีวะรมย์
๓.คุณพรเทพ ทองหล่อ
๔.คุณปณัท นิตย์แสวง

สถานีโทรทัศน์ Voice TV

วันที่ ๓ ก.ค. ๒๕๕๓ : VOICE TV FORUM ในสตูดิโอ Voice TV
เสวนา “สื่อกระแสหลักกับการปฏิรูปประเทศ”

สาระสำคัญ คือ ในภาวะที่เกิดความขัดแย้งในสังคมไทย สื่อมีความกล้าหาญในการนำเสนอความจริงตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพหรือไม่, การปฏิรูปประเทศไทย ต้องปฏิรูปสื่ออย่างไร ผู้บริโภคต้องปฏิรูปตนเองในการรับสื่อด้วย เพราะสื่อที่ไม่ได้เสนอความจริง ค้นหาความจริง ประชาชนก็จะไม่บริโภคสื่อนั้น สื่อเองก็อยู่ไม่ได้, บางครั้งสื่อตกเป็นแพะท่ามกลางความขัดแย้ง เช่น กรณี ช่อง ๓ ถูกเผา, สมาคมวิชาชีพสื่อควรมีบทบาทในการตรวจสอบการนำเสนอข่าวให้เที่ยงตรง ,หลัง ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ สื่อได้เลือกข้าง เห็นได้จากบทบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์แต่ละค่าย,ไม่เห็นด้วยกับการที่รัฐปิดกั้นสื่อทั้งทีวีและ website แต่ควรใช้กฏหมายตามปกติแทน พรก.ฉุกเฉิน ,สื่อของรัฐถูกควบคุมโดยรัฐบาลเต็มรูปแบบ

ตัวแทนสภานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตยที่เข้าร่วมงาน
๑.นายพรเทพ ทองหล่อ
๒.นายปณัท นิตย์แสวง
๓.นายพรพิชิต สุกัญจนาถ
๔.พ.ต.พีระเดช มากคณาธนิศร
๕.นางจิรฐา มากคณาธนิศร

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วันที่ ๒๔ มิ.ย. ๒๕๕๓ : คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ร่วมงานเสวนา “พรมแดนการเมือง พรมแดนความรู้ของการปฏิวัติสยาม พ.ศ.๒๔๗๕”
สาระสำคัญ คิอ ปัญหาในการเคลื่อนตัวไปสู่ความเป็นการเมืองมวลชน ชองการปฏิวัติ ๒๔๗๕ ไม่ได้เกิดขึ้นจากความขัดแย้งภายในคณะราษฎร หรือความไม่พร้อมของประชาชนแต่เพียงอย่างเดียว แต่เกิดขึ้นจากการต่อต้านของกลุ่มชนชั้นสูงอีกด้วย ดังนั้นการศึกษาด้านการต่อต้านการปฏิวัติควบคู่ไปกับการปฏิวัติเพื่อที่จะทำให้การปฏิวัติในปี ๒๔๗๕ มีความหมายและมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้การศึกษากำเนิดแนวคิด หรือกระบวนการและผลกระทบของการต่อต้านการปฏิวัติในมิติต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจที่แท้จริงว่าอะไรคือความหมายอันแท้จริงของ "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข" หรือที่จริงแล้ว ประชาชนไม่พร้อมหรือชนชั้นสูงไม่พร้อม ในการเปลี่ยนแปลง

ตัวแทนสภานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตยที่เข้าร่วมงาน
๑.นายพรเทพ ทองหล่อ
๒.นายปณัท นิตย์แสวง
๓.นางจิรภา หุ่นสุววรณ์
๔.นางปรัศนี พุทธิสนธิ์
๕.นางมณีนวล ตรีศักดิ์ศรี

คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วันที่ ๒๔ มิ.ย. ๒๕๕๓ : คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
งานรำลึกวันแห่งการปฏิวัติระบอบการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 และ
เสวนา “จากร่างเค้าโครงเศรษกิจของปรีดี พนมยงค์ สู่แนวทางรัฐสวัสดิการ”

สาระสำคัญ คือ การปฏิวัติ ๒๔๗๕ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคม การเมือง.ก่อน ๒๔๗๕ ข้อกำหนดชนชั้น ต้องมาจากกำเนิด เท่านั้นเช่น ไพร่, เจ้า, ขุนนาง, อำมาตย์ ต้องสืบทอดชั่วลูกชั่ว หลานไม่มี สิ้นสุด. การประจบเจ้านายถือว่าเป็นความชอบในสมัยก่อน ๒๔๗๕ ,การดำเนินคดีไดๆ กับเจ้านายได้รับการยกเว้น, ความแตกต่างของชั้นยศทหาร ส่วนทหารไพร่ มียศ พลทหารถึงพันเอก แต่ทหารเจ้า มียศตั้งแต่พลตรี ขึ้นไป
ตัวแทนสภานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตยที่เข้าร่วมงาน
๑.นายมานะ ศรีวรมย์